5 ขั้นตอน ฝึกสุนัขฉี่ ขับถ่ายเป็นที่ - ฝึกน้องหมาเข้าห้องน้ำ
แม้ว่าการได้รับลูกสุนัขเข้ามาดูแลในบ้านของเรานั้น แรกๆ อาจจะรู้สึกดีใจและตื่นเต้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ก็ยังมีสิ่งที่เราจะต้องคำนึงถึงในเรื่องของการเลี้ยงดู
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกินและการขับถ่าย สำหรับในวันนี้ เราจะมาแนะนำเทคนิคดีๆ
เพื่อฝึกน้องหมาฉี่ และขับถ่ายเป็นที่ เป็นเวลา ได้ดียิ่งขึ้น..
สามารถฝึกได้ไม่ยาก แต่ต้องอาศัยเวลาและความเข้าใจ โดยเฉพาะความรักที่จะต้องมอบให้กับพวกเขา
ฝึกสุนัขขับถ่ายลงในถาด ฝึกหมาฉี่ตามจุดที่กำหนด VS ให้ขับถ่าย นอกบ้าน (ในสวน )
- การฝึกขับถ่ายในบ้าน บนแผ่นรองฉี่ Training Pad
- ข้อดี สำหรับลูกสุนัขวัยเด็กมีความต้องการเข้าห้องน้ำบ่อย เราจะสามารถจำกัดบริเวณ เพื่อทำการฝึกให้ขับถ่ายบนแผ่นที่เราเตรียมเอาไว้ได้ง่าย
- แต่ในช่วง 4 เดือนแรก ต้องใช้ความเข้าใจและความอดทนในการฝึก เพราะน้องอาจยังไม่สามารถจำและอาจไปขับถ่ายในจุดที่เราไม่ต้องการได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร หากเราดูแลเข้าด้วยความรักและความเข้าใจ
- การฝึกให้ออกไปขับถ่ายนอกบ้าน
- มีข้อดีคือ ไม่ต้องฝึกกำหนดจุด แต่ฝึกให้รู้จักเวลาและออกไปขับถ่ายนอกบ้านได้เอง ลดปัญหาเรื่องของกลิ่นและความสกปรกภายในบ้าน
- เหมาะสำหรับบ้านที่มีบริเวณ หรือมีพื้นที่สวนหน้าบ้าน
- แต่ในช่วงอายุน้อย น้องหมานั้นจะต้องการขับถ่ายที่ค่อนข้างถี่จึงต้องสังเกตุ และให้เวลากับเขา
ทำความเข้าใจเรื่องร่างกายและพฤติกรรมของลูกสุนัข
ก่อนที่เข้าเรื่องของการฝึก เรามาทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับร่างกายและพฤติกรรมของน้องหมากันก่อน
ความถี่
- ลูกสุนัขไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ ในช่วง 4 เดือนแรก ดังนั้นเราไม่สามารถสั่งให้เขารอ หรืออั้น การขับถ่ายได้นาน
- สุนัขสายพันธุ์เล็ก เช่น น้องปอม หรือ ชิวาว่า ยิ่งต้องการขับถ่ายบ่อยกว่า สุนัขสายพันธุ์ใหญ่ เนื่องจากมีระบบการย่อยที่เร็วและมีกระเพาะปัสสาวะที่เล็กกว่า
- การเรียนรู้ ที่แตกต่าง สำหรับลูกสุนัแต่ละตัว ก็ไม่เท่ากัน ขึ้นกับแต่ละสายพันธุ์ หรือแม้แต่สายพันธุ์เดียวกันเองก็ตาม อาจใช้เวลาไม่เท่ากัน
การทำซ้ำกลิ่น
- น้องหมาจะจดจำจากกลิ่นและความเคยชิน กับสถานที่ที่เคยขับถ่ายเอาไว้ และมักจะฉี่หรืออึ ในบริเวณเดิมซ้ำๆ
- สัญชาติญาณของสุนัขตัวผู้ ที่ต้องการทำกลิ่นสร้างอาณาเขต ดังนั้นเรื่องนี้จึงต้องทำความเข้าใจและให้อภัยเขา แต่เราสามารถค่อยๆฝึกตามทีละขั้นตอนได้ไม่ยาก
การฝึกขับถ่ายในบ้าน บนแผ่นรองฉี่ Training Pad
ไม่ว่าจะมีขั้นตอนหรือเทคนิคที่ดีเพียงไหน สิ่งสำคัญที่เจ้าของจะต้องพึงระลึกเอาไว้เสมอคือ เรารับเขามาเลี้ยงด้วยความรัก ดังนั้น อย่าให้ปัญหาการขับถ่ายไม่เป็นที่ มาเป็นสิ่งที่เราทำร้ายร่างกายหรือจิตใจเขา ทุกการฝึก จะต้องใช้เวลาและความเข้าใจ เพราะมีหลายเคส ที่ฝึกเขาด้วยการตีหรือดุแรงๆ จนกลายเป็นการสร้างความหวาดกลัว และอาจเกิดปัญหาอื่นๆตามมา เช่น
- น้องเข้าใจว่าที่ดุหรือตี คือการห้ามขับถ่าย จนน้องกลัวไม่กล้าขับถ่าย และเกิดความเครียด จนไม่สบาย
ขั้นตอนและเทคนิคการฝึกให้น้องหมาขับถ่ายเป็นที่ เข้าห้องน้ำเป็น
อุปกรณ์ที่ใช้
- แผ่นรองฉี่
-
- อุปกรณ์เสาฉี่ (กรณีตัวผู้อายุ มากกว่า 6 เดือน เริ่มยกขาฉี่)
- สายคล้อง
- คอก
- ขนมรางวัล
สำหรับฝึกลูกสุนัขตั้งแต่ยังเล็ก ( ช่วงอายุ 2 - 4 เดือน )
1. จำกัดบริเวณให้อยู่ในคอก และมีพื้นที่วางแผ่นสำหรับขับถ่าย
- กรณีที่ลูกสุนัขยังอายุน้อย เราแนะนำว่าจะต้องจำกัดบริเวณของเขาให้อยู่ในพื้นที่คอกที่เราเตรียมเอาไว้
- เพื่อป้องกันอันตราย และดูแลเรื่องความสะอาด ไม่ให้ไม่ไปเลียสิ่งของหรือพื้นและอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
2. จัดเตรียมพื้นที่คอกให้กว้าง และเลือกมุมหนึ่งสำหรับวางแผ่นสำหรับฝึกขับถ่าย หรือให้สังเกตจากความเคยชินที่น้องหมาฉี่เป็นประจำว่าเป็นบริเวณไหน
3. หากน้องยังขับถ่ายผิดที่ ให้เอากระดาษทิชชู่ซับฉี่ และนำไปวางไว้บนแผ่นรองฉี่ เพื่อสอนให้จดจำจุดที่เราต้องการ และทำความสะอาดบริเวณที่ไม่ต้องการให้ขับถ่ายด้วยแอลกอฮอล์ (ระวังอย่าให้โดนน้องหมา)
- ส่วนอึน้องหมา เก็บทิ้งได้ตามปกติ เพื่อสุขอนามัยที่ดี
- ลูกสุนัขบางตัว ใช้เวลาไม่นานในการเรียนรู้และจดจำ แต่ก็ต้องใส่ใจและติดตามผลไปเรื่อยๆ
4. ในช่วงแรกอาจวางแผ่นรองฉี่ที่เลอะแล้ว ทิ้งไว้สัก 3-5 วัน เพื่อให้น้องหมาจดจำกลิ่นและตำแหน่งที่ต้องการ
- แต่เมื่อน้องเริ่มเข้าใจและจดจำได้แล้ว อาจเปลี่ยนแผ่นใหม่ได้ ในทุกๆ 2 วัน หรือทุกๆวัน เพื่อความสะอาดที่ดี
สำหรับฝึกสุนัขที่เริ่มโต ( อายุ 5 เดือนขึ้นไป )
สำหรับสุนัขโตก็จะเริ่มมีสัญชาติญาณและความซุกซนมากขึ้น หากไม่ได้ฝึกเรื่องการขับถ่ายให้เป็นที่เอาไว้ตั้งแต่เด็ก ก็จะมีวิธีการและคำแนะนำดังนี้
1. ให้สังเกตบริเวณที่เขาชอบขับถ่ายบ่อยๆ และนำแผ่นรองฉี่ไปวาง จากนั้นลองสังเกตุพฤติกรรมว่าเขา ขับถ่ายบนแผ่นที่เราเตรียมไว้ให้หรือไม่
2. แต่หากเราไม่ต้องการให้เขาขับถ่ายในบริเวณนั้น
- ให้เราทำการทำความสะอาดและถูพื้นด้วยแอลกอฮอล์เพื่อกลบกลิ่นฉี่เดิมของเขา
- นำกระดาษทิชชู่ซับฉี่ และนำไปวางไว้บนแผ่นที่เราจัดเตรียมเอาไว้ในบริเวณที่เราต้องการ
- หากเป็นน้องหมาตัวผู้ที่ยกขาฉี่ ตัวแผ่นสำหรับฝึกฉี่ ให้หาแบบที่มีเสาตั้งขึ้นเอาไว้สำหรับให้เขาฉี่ได้ แบบในรูปนี้
- พาน้องหมาไปดมและจำกัดให้อยู่ในบริเวณนั้นบ่อยๆ
- สังเกตพื้นที่ ที่น้องชอบไปฉี่ โดยเฉพาะตัวผู้ มักจะเกิดจากบริเวณนั้น มีสิ่งของที่วางเอาไว้ หรือเป็นบริเวณขาโต๊ะตู้ต่างๆ ดังนั้นให้จัดการย้ายสิ่งของเหล่านั้นออกหรือจัดเก็บให้เรียบร้อย เพื่อลดความยั่วยวน
- เมื่อน้องหมามีท่าที ที่กำลังจะขับถ่ายในบริเวณที่เราไม่ต้องการ ให้เข้าไปขัดในทันทีด้วย การพูดประโยคง่ายๆ เช่น “ไม่” ด้วยน้ำเสียงที่ดุเล็กน้อย และอาจตีที่ก้นเขาเบาๆ เพื่อเป็นการปราม จากนั้นให้พาเขาไปยังบริเวณที่เราต้องการ
- เมื่อน้องหมาสามารถปฏิบัติตามที่เราสั่งได้ ให้รีบทำการให้รางวัลโดยการ ชม และให้ขนม
- ฝึกและปฏิบัติซ้ำๆ ด้วยความรักและความเข้าใจ
- หลายครั้งที่น้องหมา ไม่ปฏิบัติตาม อาจเกิดจากการต่อต้าน หรือกำลังมีความเครียด จึงแสดงพฤติกรรมแบบนั้นออกมา เช่น การกัดพังสิ่งของ การขับถ่ายเรี่ยราดไม่เป็นที่
การฝึกให้ออกไปขับถ่ายนอกบ้าน
- เริ่มต้นฝึกด้วยการ พาน้องออกไปเดินเล่นนอกบ้านให้เป็นเวลาเดิมๆ ในทุกๆวัน เช่น ช่วงเช้า และ ช่วงเย็น
- ระหว่างที่พาเดินเล่น ก็ปล่อยให้เขาสำรวจและรู้สึกผ่อนคลาย จากนั้นก็จะมีการขับถ่าย รอให้เสร็จภารกิจเรียบร้อย ก็พาเข้าบ้าน
- หากระหว่างวัน น้องมีการขับถ่ายไม่เป็นที่ภายในบ้าน ให้ทำการขัดทันทีด้วย คำสั่งสั้นๆ ว่า “ไม่” และอาจตีก้นเขาเบาๆ เพื่อให้รู้ว่าเราไม่อนุญาติ จากนั้นพาออกไปขับถ่ายนอกบ้าน และถ้าน้องทำได้ ก็ให้รางวัลด้วยการชม หรืออาจมีขนมให้ด้วย
- ให้สังเกตว่า น้องมีการขับถ่ายเป็นเวลาหรือไม่ บางตัวอาจต้องการการขับถ่ายที่มากกว่า 2 ครั้งต่อวันที่เราจะพาไป อันนี้ก็ต้องปรับเรื่องเวลากันไปแล้วแต่กรณี
- ฝึกทำซ้ำๆในทุกๆวัน ด้วยความอดทนและใจเย็น และน้องหมาจะค่อยๆ เรียนรู้และเข้าใจในที่สุด
----
อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่เลี้ยงน้องๆ ในห้อง หรือ คอนโด
นั่นคือ การให้น้องใส่ผ้าอ้อมสำหรับสุนัข หรือ โอบิ นั่นเอง

ข้อดี :
- สะอาด ไม่เลอะเทอะ ตามจุดต่างๆ ของบ้าน
- สะดวก และง่ายต่อการจัดการ
- เหมาะสำหรับกรณีที่ยังฝึกให้น้องๆขับถ่ายเป็นที่ไม่ได้
ข้อควรระวัง :
- ควรเปลี่ยนโอบิ ให้น้องบ่อยๆ หรือ เปลี่ยนในกรณีที่น้องปัสสาวะ เสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันการอับชื้น
----
Leave a comment